อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ตามมาตรฐานใหม่ปี 2565
หากถามว่าการทำงานในสถานที่อับอากาศอันตรายหรือไม่ ตอบได้เลยว่าเป็นงานเสี่ยงอันตรายอย่างมาก เนื่องจาก คนที่ทำงานมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตได้ จากการขาดอากาศหายใจหรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุ จากการสูดดมก๊าซพิษ หรือ (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ก๊าซไข่เน่า ในบริเวณพื้นที่อับอากาศได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อันตรายในการทำงานที่อับอากาศมีอะไรบ้าง
- การเกิดสภาวะขาดออกซิเจน จนขาดอากาศหายใจ หรือในพื้นที่ทำงาน มีปริมาณอากาศต่ำกว่า 19.5% หรือ มากกว่า 23.5%
- ปริมาณสารไวไฟ หรือสารระเบิดเกิน 10% ผู้ปฏิบัติงานหากมีการทำงานที่มีประกายไฟ เช่น งานเชื่อม ตัด เจีย เจาะ หรืองานระบบไฟฟ้า หากในบริเวณพื้นที่นั้นมี ก๊าซ ไวไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดและบาดเจ็บเสียชีวิตได้
- อันตรายจากปริมาณก๊าซพิษ เช่น ก๊าซไข่เน่า หรือสารเคมีอันตรายอื่น ที่มีค่าเกินกว่ามาตรฐานกำหนด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสูดดมเข้าไปและหมดสติ
- อันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่อับอากาศ
หากเราไม่ได้เกิดอุบัติเหตุจากการขาดอากาศหายใจ หรือสารไวไฟ หรือสารเคมีอันตราย แต่ในการทำงานที่อับอากาศ ยังสามารถเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ เช่น การตกจากที่สูง การลื่นลงบ่อ การถูกไฟฟ้าช็อตขณะปฏิบัติงานในที่อับอากาศ เป็นต้น
เราจะป้องกันอันตรายจากการทำงานในสถานที่อาบอากาศได้อย่างไร
ก่อนที่เราจะเริ่มทำงานในสถานที่อับอากาศ นายจ้างควรปฏิบัติตามมาตรฐาน และข้อกฎหมาย โดยการส่งให้พนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานอับอากาศ ได้ผ่านการฝึกอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ได้แก่ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน ได้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถทำงานในที่อับอากาศได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในงานอับอากาศ จะต้องทราบถึงแผนการฉุกเฉินขณะที่เกิดเหตุ ว่าจะต้องทำอย่างไร ดังนั้นก่อนเริ่มปฎิบัติงาน จึงควรจะมีการขออนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ ตรวจสอบอุปกรณ์ความพร้อมต่างๆ รวมถึงแผนฉุกเฉินเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน
แผนฉุกเฉินในงานอับอากาศ คืออะไร
แผนฉุกเฉินในงานอับอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ทีมงานในที่อับอากาศจะต้องจัดเตรียมเอาไว้ก่อนเริ่มปฎิบัติงาน เพื่อให้เกิดความพร้อม และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เราจะสามารถปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง โดยปกติแล้วแผนฉุกเฉินจะถูกจัดทำโดย ผู้ช่วยเหลือในงานอับอากาศเป็นคนเขียนแผนฉุกเฉินต่างๆขึ้นมา และนำแผนดังกล่าวไปทำการซ้อมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
ฉุกเฉินในงานอับอากาศจะประกอบไปด้วยขั้นตอน ดังนี้
- การให้สัญญาณในขณะเกิดเหตุฉุกเฉินและการสื่อสารเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ในสภาวะที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ
- ขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในงานอับอากาศ
- วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในงานอับอากาศตามลักษณะต่างๆ และการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
- อุปกรณ์การกู้ภัยในงานอับอากาศตามลักษณะพื้นที่การทำงาน จะต้องเพียงพอและสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- การปิดกั้นพื้นที่กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- ระบบแสงสว่าง กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินในตอนกลางคืนหรือไม่มีแสงสว่างเพียงพอ
- การส่งต่อและขั้นตอนการนำผู้บาดเจ็บสู่ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
อบรมที่อับอากาศต้องอบรมทุกๆ กี่ปี
กฎหมายได้ระบุให้นายจ้างทำการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ในการทำงานที่อับอากาศ 4 ผู้ โดยการฝึกอบรมในครั้งแรกใบอนุญาตจะมีอายุอยู่ที่ 5 ปี และทุกๆ 5 ปี นายจ้างจะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมทบทวนการทำงานในที่อับอากาศใบอนุญาตอยู่ได้อีก 2 ปี
อุปกรณ์การช่วยเหลือในงานอับอากาศประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
- เครื่องช่วยหายใจ scba
- รอกกู้ภัย และ ไตรพอดสามขา
- ถังดับเพลิง
- เครื่องวัดอากาศ สารไวไฟ และ ก๊าซพิษ
- พัดลมระบายอากาศ
- ระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน
- ระบบวิทยุสื่อสาร เป็นต้น
สรุป
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดและส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในงานอับอากาศ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการอบรมที่อับอากาศ ก่อนเริ่มงานเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการทำงาน รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี อุปกรณ์ที่นำเข้ามาใช้ในงานอับอากาศจะต้องได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดหรือมาตรฐานสากลยอมรับ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมของแผนฉุกเฉินและทำการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความเคยชินและเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นเราจะทำตามแผนฉุกเฉินได้อย่าง ถูกต้องและรวดเร็ว