แหล่งรวมความรู้และเคล็ดลับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
Home » ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งคืออะไร

ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งคืออะไร

by blogadmin
9.6K views
1.ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งคืออะไร

ในการทำงานของเรา ล้วนแล้วแต่ต้องประสบพบเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตา ซึ่งมันทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การทำงานกับผู้คนหมู่มากอย่างเร่งด่วนและจำเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว และนั่นจึงทำให้เกิดทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมากมายในยุคปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง

รู้จัก ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง หรือไม่?

2.ทฤษฎีที่ Dr.David McClenlland เป็นผู้คิดค้น ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบบุคลิกของคนกับภูเขาน้ำแข็ง

เป็นทฤษฎีที่ Dr.David McClenlland เป็นผู้คิดค้น ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบบุคลิกของคนกับภูเขาน้ำแข็ง เพื่อมองถึงสมรรถนะของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติงานในองค์กร หรือก็คือ เปรียบคนกับภูเขาน้ำแข็งนั่นเอง โดยในส่วนที่อยู่เหนือน้ำนั้นเป็นส่วนที่สังเกตและวัดได้ง่าย และส่วนที่อยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนที่มีมากกว่า จะทำการสังเกตและวัดได้ยากกว่า แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นจะต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึกเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการทำงานนั่นเอง

ซึ่งทฤษฎีนี้จะมีองค์ประกอบก็ คือ

ส่วนที่อยู่เหนือน้ำที่จะเห็นได้ง่ายได้แก่

  1. ทักษะ หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และสามารถทำได้เป็นอย่างดี 
  2. ความรู้ หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และเข้าใจในหลักการแนวคิดเฉพาะด้าน

ตามมาด้วยส่วนที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ยาก ได้แก่

  1. บทบาททางสังคม (Social Role) หมายถึง สิ่งที่บุคคลต้องการสื่อให้บุคคลอื่นในสังคมเห็นว่าตัวเขามีบทบาทอย่างไรต่อสังคม
  2. ภาพพจน์ที่รับรู้ตัวเอง หมายถึง ภาพพจน์ที่บุคคลมองตัวเองว่าเป็นอย่างไร
  3. อุปนิสัย หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร 
  4. แรงกระตุ้น (Motive) หมายถึง พลังขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคล ที่จะส่งผลกระทบต่อการกระทำ 

และด้วยทฤษฎีนี้ ยังทำให้เราสามารถจำแนกสมรรถนะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. สมรรถนะหลัก หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม
  2. สมรรถนะตามสายงาน หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมให้คนนั้นๆ 
  3. สมรรถนะส่วนบุคคล หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่ทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้โดดเด่นกว่าคนทั่วไป ซึ่งในบางครั้ง เราก็จะเรียสมรรถนะส่วนบุคคลว่าความสามารถพิเศษส่วนบุคคล

ซึ่งประโยชน์ของสมรรถนะนี้ ยังมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและองค์กรอยู่หลายประการ ดังนี้

3.ซึ่งประโยชน์ของสมรรถนะนี้ ยังมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและองค์กรอยู่หลาย

  1. ช่วยให้สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีลักษณะดีทั้งความรู้ทักษะและความสามารถตลอดจนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับงาน
  2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงระดับความสามารถของตัวเองว่าอยู่ในระดับใดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง
  3. ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฝึกอบรมแก่พนักงานในองค์กร
  4. ช่วยสนับสนุนให้ตัวชี้วัดหลักของผลงานสามารถบรรลุเป้าหมาย 
  5. ป้องกันไม่ให้ผลงานเกิดจากโชคชะตาเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากมีการวัดสมรรถนะแล้ว จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ปฏิบัติงานคนใดจะสามารถประสบความสำเร็จเพราะโชคช่วยหรือด้วยความสามารถของเขาเอง
  6. ช่วยให้เกิดการหล่อหลอมไปสู่สมรรถนะขององค์กรที่ดีขึ้น 

และสมรรถนะเหล่านี้ ยังสามารถนำมาจัดกลุ่มภายใต้เกณฑ์ของพฤติกรรมที่แสดงออกและสังเกตเห็นได้ง่าย ออกเป็นจำนวน 2 คุณลักษณะ ดังนี้

  1. สมรรถนะที่สังเกตได้หรือเห็นได้ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีโอกาสพัฒนาได้โดยง่าย
  2. สมรรถนะที่อยู่ลึกลงไปหรือซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ยากต่อการวัดและพัฒนาสรุปแล้ว

โดยประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้

  1. ความรู้ คือ สิ่งที่องค์กรต้องการให้ “รู้”
  2. ทักษะ คือ สิ่งที่องค์กรต้องการให้ “ทำ”
  3. พฤตินิสัยที่พึงปรารถนา คือ สิ่งที่องค์กรต้องการให้ “เป็น” ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอยู่ลึกลงไปในจิตใจ ซึ่งยากกว่าการสร้างความรู้และทักษะ

และนอกจากสมรรถนะเหล่านี้ สิ่งรอบตัวผู้ปฏิบัติงานยังมีผลต่อการสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานเองอีกด้วย เช่น

4.สิ่งรอบตัวผู้ปฏิบัติงานยังมีผลต่อการสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานเองอีกด้วย copy

  1. ตัวหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา กล่าวคือ ถ้าหัวหน้าดีอย่างไร ก็จะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะที่ดีตามไปด้วย
  2. เพื่อนร่วมงาน โดยถ้าหากมีเพื่อนร่วมงานที่ดีทำงานไปกันได้ ย่อมส่งผลทำให้เขาเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น
  3. องค์การและการจัดการ ซึ่งองค์การใดที่มีชื่อเสียงการทำงาน ย่อมทำให้เกิดการยอมรับ และทำให้ผู้ทำงานเกิดความพึงพอใจในองค์การนั้น

ดังนั้น เราจึงสามารถอธิบายได้ว่าคุณลักษณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยมีส่วนหนึ่งที่จะลอยอยู่เหนือน้ำซึ่งสามารถสังเกตและวัดได้ง่าย และยังเป็นส่วนของทักษะ สำหรับส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนที่มีมาก แต่ไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนและวัดได้ยากกว่า รวมถึงยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลได้มากกว่าอีกด้วย

นอกจากนี้ การที่บุคคลใดจะมีความฉลาดสามารถเรียนรู้ในความรู้และทักษะได้นั้น ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การทำงานออกมาได้ดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก ซึ่งจะช่วยทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นได้

ดังนั้นทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งจะเป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่รอบข้างได้อย่างดีและยังช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจและนำไปพัฒนาสมรรถนะในการทำงานได้อย่างดีในเวลาต่อมาเราจึงถือได้ว่าทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งเป็นทฤษฎีที่จะช่วยทำให้การทำงานในองค์กรเป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

บทความแนะนำ

เกี่ยวกับเรา

babcn logo

แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน มีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกประเด็น ตามที่คุณต้องการ