แหล่งรวมความรู้และเคล็ดลับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
Home » จป.บริหาร ตามกฎหมายความปลอดภัยกฎกระทรวง 2565 คือใคร

จป.บริหาร ตามกฎหมายความปลอดภัยกฎกระทรวง 2565 คือใคร

by blogadmin
811 views
1.จป.บริหาร ตามกฎหมายความปลอดภัยกฎกระทรวง 2565 คือใคร

จป.บริหาร ตามกฎหมายใหม่ คือใครมีหน้าที่อะไร

เมื่อพูดถึงผู้บริหาร เราคงเข้าใจดีว่า หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยงานนั้น หรือ ที่เราเรียกกันว่า ผู้จัดการ ถ้าพูดถึง จป.บริหาร จะเรียกเต็มๆอย่างเป็นทางการคือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร เราเข้าใจหรือไม่ว่าคือใคร มีหน้าที่อะไร

จป.บริหาร ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565  ได้กำหนดไว้ในข้อ 10 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 2 คนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้างจำนวน  20 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับผู้บริหารซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 11 ทุกคนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบการจการภายใน 120 วันนับจากวันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว

แต่ถ้าสถานประกอบกิจการไม่มีลูกจ้างระดับบริหาร ก็ให้นายจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารเองซึ่ง จป.บริหาร ก็คือบุคคลที่เป็นลูกจ้างระดับบริหาร ที่มีหน้าที่ในการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย ในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบ

ถ้าจะเป็น จป. บริหารต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ซึ่งในส่วนของคุณสมบัติของลูกจ้างระดับบริหารที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 21 ซึ่งในส่วนของข้อ 21 นั้นได้ระบุถึงคุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ เอาไว้

หากลูกจ้างระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ ไม่มีคุณสมบัติตาม 3 ข้อข้างต้น ก็ให้นายจ้างส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึก อบรม จป บริหาร เพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง และเมื่อมีการอบรมแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารได้เลย จะต้องมีการแต่งตั้งและแจ้งขึ้นทะเบียน ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานของพื้นที่นั้นๆ จึงจะถือว่าเป็น จป.บริหาร โดยถูกต้องตามกฎหมาย

จป.บริหาร มีหน้าที่อะไร

บทบาทหน้าที่ของ จป. บริหาร ตามกฎหมาย

เมื่อพูดถึงหน้าที่ของจป.บริหาร ฟังจากชื่อ เราคงเดาได้ว่า ก็มีหน้าที่ในการบริหาร จัดการ ด้านความปลอดภัยนั่นแหละ และบริหารจัดการ อย่างไรล่ะ กฎกระทรวงฉบับนี้ ได้กำหนดหน้าที่ของ จป.บริหาร ตามกฎหมายเอาไว้ 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 

  1. กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
  2. เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
  3. ส่งเสริม สบับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
  4. กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับ

รายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย ผู้บริหาร หรือผู้จัดการ ของแต่ละสถานประกอบกิจการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบมากมาย ตามหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่แล้ว เช่น

  • กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการผลิต
  • วางแผนการผลิตสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า
  • วิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิต หาวิธีแก้ไขปรับปรุง 
  • ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น 

แต่เมื่อผู้บริหารของสถานประกอบกิจการต้องมาเป็น จป.บริหารด้วยแล้ว ย่อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น และไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้ เนื่องจากกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยโดยตำแหน่ง ในส่วนของ จป.บริหาร จะต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองทุกคน ให้ทำงานด้วยความปลอดภัย ไม่มีอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานเกิดขึ้น ซึ่งในการบริหารด้านความปลอดภัยของ

จป.บริหารแต่ละคน ย่อมมีเทคนิคในการบริหารที่แตกต่างกันออกไป แต่ต้องวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อความปลอดภัยของทุกคนในหน่วยงาน 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยบริหาร

ในแต่วัน จป. บริหาร ควรตรวจสอบหน้างาน เพื่อเป็นการสำรวจการควบคุม ดูแล ของ จป.หัวหน้างาน อีกทีว่าควรปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ และเมื่อมีการสำรวจ ตรวจสอบ ก็จะเห็นว่าในหน่วยงานที่ตนเองดูแลอยู่ควรพัฒนาอะไรเพิ่มเติม ซึ่งจะนำไปสู่แผนงาน โครงการด้านความปลอดภัย และการลงมือปฏิบัตินั่นเอง และนอกจากที่กล่าวมา จป.บริหาร ต้องคอยช่วย จป.ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตนเองทุกคน แก้ปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยด้วย เช่น 

  • หากพบจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย แต่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรเพื่อแก้ไขได้ เป็นหน้าที่ของ จป.บริหาร ที่ต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร
  • หากพบว่ามีการรายงานจาก จป.หัวหน้างาน ว่าพนักงานไม่มีทักษะ ในการปฏิบัติงานในจุดงานนั้น หากปฏิบัติงานต่อไปอาจเกิดอุบัติเหตุได้ จป.บริหาร จะต้องช่วย จป.หัวหน้างาน ในการพิจารณาตัดใจ เป็นต้น

สรุป

ผู้บริหารที่ผ่านอบรม จป.บริหาร ถือว่ามีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หากผู้บริหารรู้หน้างาน รู้สภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคน เพราะจะทำให้การติดสินใจดำเนินงาน และงบประมาณเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันที

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

บทความแนะนำ

เกี่ยวกับเรา

babcn logo

แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน มีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกประเด็น ตามที่คุณต้องการ